ประวัติโรงเรียน
|
|
๑.๑ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนด่านอุดมศึกษา หมู่ที่ ๑๓ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์ ๓๓๑๖๐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๘ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓ มีเนื้อที่ ๔๓ ไร่ ๑ งาน ๓๑ ตารางวา เขตพื้นที่บริการ ๒ อำเภอ ๒ ตำบล ๑๕ หมู่บ้าน คือ หมู่ ๑-๑๓ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และหมู่ ๕-๖ ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมีอาคารเรียน ๓ หลัง อาคารประกอบ ๒ หลัง บ้านพักครู ๒ หลัง รวมจำนวนห้องเรียนทั้งหมด ๖ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการพิเศษต่าง ๆ จำนวน ๔ ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการภาษาไทย ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ห้องแนะแนว ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคหกรรม และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันโรงเรียนด่านอุดมศึกษา มีนักเรียน ทั้งสิ้น ๑๓๕ คน (ข้อมูล ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗) มีบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๒๒ คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน ๒ คน ข้าราชการครู จำนวน ๑๑ คน ครูอัตราจ้าง จำนวน ๔ คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๒ คนลูกจ้าง จำนวน ๒ คน ผู้ปฏิบัติงานธุรการ จำนวน ๑ คน
๓. เป็นผู้รู้เรื่อง อารยธรรมสายน้ำแห่งชีวิต มีทักษะ เป็นอาชีพ เป็นวิถีชีวิต และเป็นการส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
๔. เป็นผู้มีทักษะสร้างนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน รู้ใช้เทคโนโลยี เป็นผู้ประกอบการ และเป็นพลเมืองที่เข็มแข็ง
๕. เป็นผู้มีทักษะการสื่อสาร บูรณาการพื้นที่การเรียนรู้เชิงนิเวศอย่างสร้างสรรค์ มีทักษะศตวรรษที่ 21 เป็นผู้มีทักษะทางปัญญาและสร้างความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๖. เป็นผู้มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นนำไปสู่การสร้างเครือข่ายกับชุมชน
๗. ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
๘. ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ เจตคติและสมรรถนะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
๙. ผู้เรียนมีทักษะชีวิต มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย
๑๐. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ สามารถเรียนรู้ถึงคุณค่าแห่งชีวิต
๑๑. ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
๑๒. ครูเป็นผู้เรียนรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความแม่นยำทางวิชาการพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
๑๓. ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล สร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรมหรืองานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
๑๔. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นเลิศส่วนบุคคล คิดเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม มีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีสำนึกความรับผิดชอบ (Accountability) และการบริหารแบบร่วมมือ
๑๕. โรงเรียนมีความอิสระในการบริหารจัดการศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนให้โรงเรียนเป็น “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” (Learning Community) โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง (Collaborative Learning) มาใช้จริงในห้องเรียน
๑๖. โรงเรียนมีพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) เพื่อเป็นโรงเรียนด่านอุดมศึกษาสร้างสรรค์เชิงนิเวศ (Danudomsuksa Creative Eco-School) มีสภาพแวดล้อมที่ดีบรรยากาศร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในทุกมิติ
นิยาม :
โรงเรียนด่านอุดมศึกษาสร้างสรรค์เชิงนิเวศ (DANUDOMSUKSA Creative Eco-School) เป็นโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้แนวคิด “การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ : Whole School Transforming: 7 Change” (Assco. Prof. Prapapat Niyom President of Arsom Silp Institute of the Arts 2019) เป็นแนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียน น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อปลูกฝังความเป็น “พลเมืองสร้างสรรค์เพื่อสิ่งแวดล้อม” (Environmental Creative Citizen) ให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายในโรงเรียนและชุมชนท้องถิ่น สร้างพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชนตนเองและสิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างรอบด้านในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม เน้นกระบวนการคิดจากบริบทของตัวเองในการตัดสินใจ ลงมือกระทำ สร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล การร่วมมือกับสมาชิกในโรงเรียนและชุมชน โดยใช้ประเด็นการเรียนรู้จาก พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ตลอดจนสภาพแวดล้อมจริงใกล้ตัวเป็นจุดเริ่มต้น เชื่อมโยงกันของมิติต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้รูปแบบ SIDA SMART MODEL ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
สภาพบริบทของชุมชน
โรงเรียนด่านอุดมศึกษาเป็นพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างอำเภอราษีไศลและอำเภอศิลาลาด ประชากรในพื้นที่จึงมีหลากหลายวัฒนธรรม เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน ได้แก่ ชุมชนตำบลด่าน และชุมชนตำบลหนองบัวดง ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าลาว นับถือศาสนาพุทธ ภาษาสื่อสารของชุมชนคือ ภาษาถิ่นลาว ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ บุญแข่งเรือยาว และรำฝีฟ้า มีแม่น้ำสายหลักคือ แม่น้ำมูล มีหนองน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือหนองบัวใหญ่ และหนองบัวน้อย มีป่าชุมชน คือ ป่าดงแดง กั้นระหว่างอำเภอราษีไศลกับอำเภอศิลาลาด และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของตำบลด่าน คือ พระธาตุสีดา ตั้งอยู่ หมู่ ๑๓ บ้านธาตุเจริญ ซึ่งมีเรื่องราวจากตำนานที่เกี่ยวข้องกับกู่คันธนาม ที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโพนทราย และเกี่ยวข้องกับสถานที่ต่าง ๆ ในพื้นที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่อีกด้วย อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีแหล่งน้ำที่เพียงพอเหมาะแก่การเพาะปลูก รายได้หลักมาจากผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้เยาวชนในพื้นที่มีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่อิงกับการเกษตรกรรมและนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
|